กดไลท์กดแชร์

11 เม.ย. 2561

มะรุมพืชมหัสจรรย์

มะรุม สรรพคุณทางยาจากตำรา

เนื่องจากสรรพคุณที่มีมากมายและหลากหลายของมะรุม ดังนั้นจึงได้จัดหมวดหมู่สรรพคุณให้ดูง่ายขึ้นดังนี้
  • การฆ่าเชื้อ
    • สารสกัดเอทานอลจากมะรุม สามารถฆ่าเชื้อราบางชนิดได้ เช่น
      • Trichophyton rubrum
      • Trichophyton mentagrophytes
      • Epidermophyton floccosum
      • Microsporum canis
    • สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้
    • สามารถฆ่าเชื้อจุลลินทรีย์ได้
  • การรักษาโรคและบรรเทาอาการ
    • โรคขาดสารอาหารในเด็กที่มีอายุระหว่าง แรกเกิดถึง 10 ขวบ
    • ช่วยลดระดับน้ำตาลได้ จึงช่วยบรรเทาอาการผู้เป็นโรคเบาหวาน
    • เนื่องจากระดับน้ำตาลในเลือดลดลง ทำให้ความเข้มข้นของเลือดลดลง จึงมีส่วนช่วยให้ความดันเลือดลดลงเช่นกัน ดังนั้นจึงช่วยรักษาโรคความดันได้
    • ช่วยรักษาโรคหวัด แก้ไอ และบรรเทาอาการไอเรื้อรัง
    • ช่วยรักษาโรคระบบทางเดินหายใจ เช่น
      • โรคภูมิแพ้
      • โรคหอบหืด
      • โรคโพรงจมูกอักเสบ
    • ใช้บรรเทาโรคตาได้ทุกโรค
    • น้ำมันมะรุมสามารถฆ่าเชื้อราบนหนังศีรษะ ลดอาการคันหนังศีรษะ และลดอาการผมร่วงได้
    • ช่วยบรรเทาโรคไขข้อ ปวดตามข้อ และกระดูกอักเสบ
  • การบำรุง
    • บำรุงผิวบรรณให้อ่อนนุ่ม ผิวไม่กร้าน เนื่องจากมะรุมมีสารต้านอนุมูลอิสระ

ผลการวิจัยมะรุมโดยมหาวิทยาลัยมหิดล

ผลการวิจัยนี้มาจาก คณาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลในการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งส่วนใหญ่จะทดลองระดับเซลล์และสัตว์ พบว่า มะรุม(Moringa)นั้นมีฤทธิ์ ที่น่าสนใจซึ่งออกฤทธิ์ในทางบวกกับร่างกายของสิ่งมีชีวิต เช่น ลดความดันเลือด ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร ลดคอเลสเตอรอล ต้านการอักเสบ ป้องกันตับอักเสบ ลดระดับน้ำตาล ต้านออกซิเดชัน ต้านเชื้อแบคทีเรีย ต้านการเกิดเนื้องอก และต้านมะเร็ง

ฤทธิ์ของมะรุมจากผลการวิจัยในสัตว์ทดลอง

สรรพคุณมะรุมที่ได้จากการทดลองกับหนู 9 อย่าง มีดังนี้
  • ลดความดันเลือด - จากการทดลองสามารถลดความดันเลือดของหนูแรทและสุนัข
  • ต้านการเกิดเนื้องอกและมะเร็ง - สารสกัดจากมะรุมสามารถลดจำนวนหนูที่เป็นมะเร็งผิวหนังได้
  • ลดระดับคอเลสเตอรอล - สามารถลดระดับคอเลสเตอร์รรอลในหลอดเลือดได้ หลังจากป้อนอาหารที่มีไขมันสูงแก่หนูทดลอง
  • ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร - หลังจากให้ยาแอสไพรินแก่หนูทดลองเพื่อกระตุ้นให้เกิดแผลภายในกระเพาะอาหาร พบว่าสารสกัดจากมะรุมสามารถต้านและป้องกันการเกิดแผลกระเพาะอาหารได้
  • ป้องกันการอักเสบของตับ - หลังจากให้ยาพาราเซตามอล และยาไรแฟมพิซินแก่หนูทดลองเพื่อกระตุ้นการอักเสบของตับ พบว่าหลังจากป้อนสารสะกัดจากใบ และดอก สามารถยับยั้งการเกิดแผลในกระเพาะอาหารได้
  • ต้านออกซิเดชัน - สารสะกัดจากใบ ดอก และราก สามารถต้านอนุมูลอิสระและสามารถกำจัดอนุมูลอิสระได้
  • ต้านเชื้อแบคทีเรีย - จากการทดลอง สารสกัดจากใบ ดอก เมล็ด เปลือกต้น และเปลือกราก สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียได้หลายชนิด
  • ลดระดับน้ำตาล - สารสกัดจากใบและเปลือกลำต้นสามารถลดระดับน้ำตาลในหนูที่เป็นโรคเบาหวานได้
  • ต้านการอักเสบ - ผลการวิจัยพบว่า การอักเสบภายในทางเดินหายใจของหนูตะเภาลดลง เพื่อได้รับสารสกัดจากมะรุม
    นอกจากมะรุมจะมีผลดีกับร่างกายแล้ว ยังมีผลการทดลองที่แสดงถึงผลค้างเคียงของมะรุมอีกด้วย

    ผลค้างเคียงของมะรุม

    มะรุมมีผลค้างเคียงเป็นพิษระดับเซลล์และสัตว์ทดลองดังนี้
    • เมื่อป้อนสารสกัดจากเมล็ดให้กนูทดลองที่มีการผสมพันธุ์แล้ว พบว่าทำให้หนูทดลองเกิดอาการแท้งได้
    • เมื่อป้อนสารสกัดจากรากมะรุมให้หนูทดลอง จะมีผลทำให้ทารกฝ่อ ในช่วงเวลาตั้งครรภ์ระยะสุดท้าย
    • เมื่อป้อนสารสกัดจากเมล็ดให้กระต่าย มีผลให้เม็ดเลือดแดงของกระต่ายทดลองเกิดการรวมตัวกัน
    • เมื่อป้อนมะรุมดิบให้แก่หนูทดลองเป็นเวลาทั้งหมด 5 วัน พบว่า มีผลทำให้ความอยากอาหาร การใช้โปรตีน และการเจริญเติบโตของหนูลดลง ต่อมไทมัส และม้ามฝ่อลง แต่กระเพาะอาหาร หัวใจ ไต ลำไส้ ปอด ตับอ่อน และตับมีขนาดใหญ่มากขึ้น
    ทั้งนี้การรับประทานมะรุม นอกจากจะได้ประโยชน์จากมะรุมแล้ว ยังต้องระวังเรื่องการแท้งลูกในสตรีที่มีครรภ์ด้วย จากการทดลองที่พบการแท้งลูกของหนูทดลอง

    มะรุม คุณค่าทางโชนาการและคุณค่าทางอาหาร

    สำหรับคุณค่าของมะรุม เราจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ คุณค่าทางโภชนาการ และคุณค่าทางอาหาร ซึ่งสาเหตุที่ต้องแบ่งออกเป็นสองประเภทเนื่องจาก การแบ่งประเภททางอาหารเราจะนำคุณค่าทางอาหารของมะรุมมาเทียบกับคุณค่าทางอาหารของนมและผักผลไม้ชนิดอื่นที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นอาหารเพื่อสุขภาพ ส่วนการแบ่งตามคุณค่าทางโภชนาการนั้น เราจะแจกแจงรายละเอียดของมะรุมว่า มีส่วนประกอบของโปรตีน ไขมัน ใยอาหาร วิตามิน เท่าไหร่บ้าง ดังรายการด้านล่างครับ

    คุณค่าทางโภชนาการ

    สำหรับคุณค่าทางโภชนาการของใบมะรุมปริมาณ 100 g. ซึ่งสำรวจโดยอินเดียในปีพ.ศ.๒๕๓๗ มีดังนี้
    • พลังงาน(Energy) 26 cal.
    • โปรตีน(Protein) 6.7 g.
    • ใยอาหาร(Dietary Fiber) 0.1 g.
    • ไขมัน(Lipids) 4.8 g.
    • คาร์โบไฮเดรต(Carbohydrate) 3.7 g.
    • วิตามินเอ(Vitamin A) 6,780 μg.
    • วิตามินซี(Vitamin C) 220 mg.
    • แคโรทีน(Carotene) 110 μg.
    • แคลเซียม(Calcium) 400 mg
    • ฟอสฟอรัส(Phosphorus) 110 mg.
    • เหล็ก(Ferrum) 0.18 mg
    • แมกนีเซียม(Magnesium) 28 mg.
    • โพแทสเซียม(Potassium) 259 mg.

    คุณค่าทางอาหาร


    • วิตามินเอ(Vitamin A)ซึ่งมีส่วนช่วยในการบำรุงสายตามากกว่าแครอตถึง 4 เท่า
    • วิตามินซี(Vitamin C)ซึ่งมีส่วนช่วยป้องกันโรคหวัด มากกว่าส้มถึง 7 เท่า
    • แคลเซียม(Calcium)ซึ่งมีส่วนช่วยบำรุงกระดูกและฟัน มากกว่านมสด 4 เท่า
    • โพแทสเซียม(Potassium)ซึ่งมีส่วนช่วยบำรุงสมองและระบบประสาทมากกว่ากล้วยถึง 3 เท่า
    • โปรตีน(Protein) ช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย มากกว่าโยเกิร์ต 2 เท่า

    ไม่มีความคิดเห็น:

    แสดงความคิดเห็น