กดไลท์กดแชร์

19 ก.พ. 2561

ชาไทยแท้




เครื่องดื่มชาสมุนไทยแท้ 
รางวัลชนะเลิศอันดับ๑ระดับประเทศ
สินค้าดีมี อย. สถานที่ผลิตได้มาตราฐาน

ด้วยส่วนผสมของสมุนไพร 5 ชนิด ได้แก่ ไมยราบ ดอกคำฝอย ใบหม่อน ทองพันชั่ง เตยหอม ที่แต่ละชนิดมีความโดดเด่น แตกต่างกันสามารถเข้าไปจัดการกับภาวะต่างๆ ได้ดี อีกทั้งยังอุดมไปด้วยวิตามินบำรุง ร่างกาย
ซึ่งสามารถตอบโจทย์ให้กับ...
1. ผู้ป่วยเบาหวาน
2. ผู้ป่วยความดันสูง
3. ผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่อง ไขมันในเลือดสูง
4. ช่วยระบบขับถ่าย
5. ผู้ที่ต้องการควบคุมหรือ ลดน้ำหนัก
6. บำรุงร่างกาย บำรุงหัวใจ แก้ร้อนในกระหายน้ำ
รับสมัคตัวแทนจำหน่ายรุ่นบุกเบิก ใครพร้อมที่จะรวยเชิญเลย 🤑🤑🤑เงินดีขนาดนี้ จะรอช้าอยู่ใย 🤑🤑🤑
เปิดบิลเพียง 1700 ขายหมด กำเงิน 2800
💯💯💯
🎇ไม่รวยทนไหวหรอ
สนใจ Line @thaithae
วิสาหกิจชุมชนสมุนไพรไทยแท้
🏵เรายังมีสินค้าคุณภาพอีกหลากหลายชนิด 🏵
เลือกชมได้ที่เเฟนเพจ https://www.facebook.com/ThaiherbPamok/
หรือที่ thai-thae.blogspot.com

15 ก.พ. 2561

ไมยราบ



หญ้างับ "ล้างไต-ไขมัน-ลดน้ำตาลในเลือด"
หญ้างับ
“ล้างไต-ไขมัน-ลดน้ำตาลในเลือด”
จำรัส เซ็นนิล รวบรวม/เรียบเรียง
หญ้างับหรือหญ้าปันยอด บางคนก็เรียกไมยราบ , กระทืบยอด, กะเสดโคก ซึ่งมักถูกมองกันว่าเป็นวัชพืชไร้ค่า แต่รู้ไหมครับว่าเป็นพืชที่มีสรรพคุณแก้ปวดหลังลดน้ำตาลในเลือดได้ชะงัดนัก ทั้งยังเป็นสมุนไพรที่ทำให้กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรป่าโมกพัฒนา จ.อ่างทอง สร้างเนื้อสร้างตัวมาได้จนถึงทุกวันนี้ และเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางข้ามไปถึงต่างประเทศ ภายใต้ชื่อผลิตภัณฑ์ ชาสมุนไพรไทยแท้ ประกอบด้วยสมุนไพร ๕ ชนิด โดยมีไมยราบเป็นองค์ประกอบหลัก

หญ้างับจัดเป็นพืชวงศ์ (ตระกูล) ถั่ว ประเภทไม้ล้มลุก มีลักษณะเป็นไม้เลื้อย ทอดไปตามพื้นดิน เถามีหนามแหลมและมีขนสีน้ำตาลคลุมอยู่ทั่ว ใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย ๒ คู่ ขนาดเล็กมาก ไวต่อการสัมผัสและ หุบลงหากถูกสัมผัสหรือสั่นสะเทือน ดอก ออกเป็นดอกช่อ แบบช่อกระจุกแน่น ออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีชมพู ผลเป็นฝักข้อสั้นๆ อยู่รวมกันเป็นช่อ ผลแก่สีดำ

หญ้างับแม้จะเป็นพืชที่มีการแพร่กระจายพันธุ์อย่างรวดเร็ว และกำจัดค่อนข้างยาก ซึ่งก่อให้เกิดปัญหา แต่ก็ยังมีประโยชน์ทางสมุนไพร สามารถนำทุกส่วนมาหั่นแล้วคั่ว โดยใช้ไฟอ่อนๆ จนมีกลิ่นหอม แล้วนำไปชงน้ำดื่มแทนชา ช่วยลดคอเลสเตอรอลและน้ำตาลในเลือดได้ ถ้าใช้ทั้งต้นจะมีสรรพคุณ ขับปัสสาวะแก้ไตพิการ แก้ทางเดินปัสสาวะอักเสบ ขับระดูขาว แก้ไข้ออกหัด แก้นอนไม่หลับ แก้กระเพาะอาหารอักเสบ สงบประสาท แก้ลำไส้อักเสบ แก้เด็กเป็นตานขโมย แก้ผื่นคัน แก้ตาบวมเจ็บ แก้แผลฝี

ผมได้รู้ถึงสรรพคุณของหญ้างับดียิ่งขึ้นเมื่อคุณณัฐชานันท์ สรวลเสน่ห์ เกษตรและสหกรณ์จังหวัดอ่างทอง ได้พาผมไปเยี่ยมกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรป่าโมกพัฒนา อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง ซึ่งมีคุณป้าเสงี่ยม ไม้แป้น เป็นประธานกลุ่ม ๐๘-๔๙๗๑-๕๙๙๙ ป้าเสงี่ยมนำไปชมห้องหับต่างๆในการผลิตสมุนไพรซึ่งขณะนั้นมีเจ้าหน้าร่วมทำงานอยู่ประมาณ ๒๐ คน มีทั้งห้องเก็บวัตถุดิบ ห้องอบและห้องบด ห้องบรรจุผลิตภัณฑ์ นอกจากหญ้างับแล้วยังมีสมุนไพรตัวอื่นอีกเยอะครับ ระหว่งเดินป้าเสงี่ยมก้เล่าให้ฟังว่า

“ป้าจะส่งเสริมให้ชาวบ้านที่ว่างงานมาร่วมทำงานด้วย และก็รับเด็กๆนักศึกษาช่วยทำจะได้ช่วยเป็นทุนรอนในการเรียน บางรายเป็นชาวบ้านมาจากต่างจังหวัดมาอยู่กินที่นี่ก็มี ป้าก็ไม่ได้หวงวิชาอะไรสอนให้หมด”

“แล้วอะไรเป็นแรงบันดาลใจให้มีวันนี้ได้ครับ” ผมเริ่มถาม พร้อมจิบชาหญ้างับที่ป้าเสงี่ยมนำมาต้อนรับ รสชาติฝาดๆหวานๆหอมๆ

“คือยังงี้ จริงๆแล้วป้าไม่เคยคิดฝันจะมาอยู่ในวงการสมุนไพรกับเขาหรอก แต่เกิดวิกฤตประสบปัญหาชีวิต เคยเลี้ยงปลา เลี้ยงกุ้ง ทำนา เป็นนายหน้าขายที่ ปลูกกล้วย ทำกล้วยทอดขาย ทำมาหมดแล้ว ช่วงหลังไม่สบายปวดหลังมากงานก็ไม่ได้ทำ เงินที่ใช้อยู่ก็หมดเกลี้ยง เครียดหนัก ต้องฉีดยาเข็มละ ๒๐๐ บาทพอฉีดก็หายไม่ฉีดก็ปวด ก็เลยคิดถึงต้นหญ้างับ เพราะสมัยเด็กๆเคยเห็นคุณตาซึ่งเป็นหมอพื้นบ้านใช้รักษาคนไข้ ก็ให้สามีหามาให้ ใช้ต้มกินอาการปวดต่างๆก็หายไปเลย จากนั้นมาป้าก็เลยไปเก็บหญ้างับ ตามคันนา ตามป่าละเมาะ มาสับเป็นท่อนๆ รวมทั้งดอกมะลิและใบเตย นำมาตากแดดให้แห้ง แล้วเอาไปคั่วให้หอม หลังจากนั้นก็บรรจุห่อ ทำครั้งแรก ๒๐ ห่อ ขายได้เงิน ๔๐๐ บาท ยิ่งจุดประกายความฝันและอนาคต เริ่มมองเห็นหนทางแล้ว เคยไปเก็บหญ้างับริมคันนา มีคนมาทักบ่อย จึงต้องใส่หมวกไอ้โม่ง คนก็ยังมาทักและจำเสียงได้ ช่วงหลังจึงจ้างชาวบ้านไปเก็บก็สร้างรายได้ให้กับชุมชนอีก

ป้าเสงี่ยมบอกว่าคนเรา ถ้าไตมีปัญหาจะทำให้ระบบต่างๆในร่างกายพลอยได้รับผลกระทบไปด้วย อาการปวดเมื่อยจึงเกิดขึ้นถ้าดื่มน้ำต้มหญ้างับก็จะไปล้างไตล้างไขมันลดน้ำตาลในเลือด ทุกวันนี้คุณเสงี่ยมได้ค้นคว้าศึกษาตำรับยาเพิ่มเติม นำสมุนไพรที่มีสรรพคุณทางยาสูงมาผสมเข้าไปอีกเช่นดอกคำฝอย ทองพันชั่ง ฯลฯ หลายคนได้นำไปดื่มต่างหวลกลับมาซื้อเพิ่มเติม อีก เพราะนอกจากล้างไต ล้างไขมันหุ่นดีแล้วยังลดน้ำตาลในกระแสเลือดได้อีกด้วยและเหนือสิ่งอื่นไดเมื่อไตแข็งแรง ร่างกายก็ฟิตเปรี๊ยะ นกเขาก็โก่งคอขันจนน่ารำคาญ ฮ่าๆๆ ป้าเสงี่ยมตั้งชื่อตำรับนี้ว่า ชาสมุนไพรตำรับ “ลุกทั้งคืน” ลุกไปห้องน้ำ ฮ่าๆๆ

(ข้อมูลเพิ่มเติม) ไมยราบแก้เบาหวาน
ไมยราบ เป็นไม้สมุนไพรชนิดหนึ่งที่นำไปเข้ากับต้นครอบจักรวาล แล้วใช้เป็นยาแก้เบาหวานได้ โดยเอาต้นไมยราบ ทั้งต้นรวมรากแบบสดกับต้นครอบจักรวาลสดเช่นเดียวกัน จำนวนเท่ากัน หั่นเป็นชิ้นตากแห้งนำไปคั่วไฟอ่อน ๆ จนเหลือ ชงกับน้ำร้อนดื่มทุกวัน ช่วยลดน้ำตาลในเลือดหรือเบาหวานได้ สามารถดื่มได้เรื่อย ๆ ไม่มีอันตรายอะไร
ไมยราบ หรือ SENSITIVE PLANT-MIMOSA PUDICA LINN. อยู่ในวงศ์ FABACAEA เป็นไม้ล้มลุกทอดเลื้อย ใบไวต่อการสัมผัส ดอกสีชมพู พบขึ้นทั่วไปตามห่ารกร้างว่างเปล่า มีสรรพคุณทางยาคือ ทั้งต้น ขับปัสสาวะ แก้ไตพิการ แก้กษัย (อาการป่วยเกิดจากหลายสาเหตุ ทำให้ร่างกายเสื่อมโทรม ซูบผอม โลหิตจาง และปวดเมื่อย) โดยต้มน้ำดื่ม ราก แก้บิด ขับปัสสาวะ ทั้งต้นผสมรากสะเดาดินและไมยราบเครือ (อีกชนิดหนึ่งคล้ายคลึงกันมาก) ทั้งต้นต้มน้ำดื่มขับปัสสาวะ สารสกัดทั้งต้นด้วยแอลกอฮอล์ สามารถลดน้ำตาลในเลือดของสัตว์ทดลอง สารบริสุทธิ์สกัดจากต้นไมยราบ ทำเป็นโทนเนอร์ เช็ดหน้าหลังอาบน้ำ ฆ่าเชื้อที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดสิวได้ และยังช่วยทำให้ใบหน้าสะอาดด้วย

ที่มา http://www.jamrat.net/jamrathealth.aspx?blogid=519


สนใจผลิตภัณฑ์ https://www.facebook.com/ThaiherbPamok/

6 ก.พ. 2561

แพทย์แผนไทยแนะใช้ยาสมุนไพรก่อนพบหมอ

ดร.นพ.ธวัชชัย กมลธรรม อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กล่าวว่า ปัญหาการใช้ยาฟุ่มเฟือย การพึ่งพายาต่างชาติยังพบมากในประเทศไทย การบริโภคยาบางชนิดเกิดความจำเป็นก่อให้เกิดความไม่ปลอดภัยและเกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยา เพื่อลดปัญหาการสะสมสารเคมีจากยาที่ใช้ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ได้คัดเลือกรายการยาสมุนไพรที่มีความจำเป็นในการบำบัดอาการเจ็บป่วยขั้นพื้นฐาน

          จากการรวบรวมข้อมูลพบว่าอาการบางอาการ เช่น ปวดศีรษะ ไอ จุกเสียด เป็นต้น หากพักผ่อนให้เพียงพอ ใช้ยาสมุนไพรหรือใช้การนวดบำบัดอาการก็ทุเลาได้ เพราะ 70% ของโรคพื้นฐานหายได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องด้วยอาหารและการออกกำลังกาย หรือสมาธิบำบัด หากจำเป็นต้องใช้ยา ขอแนะนำให้ใช้ยาไทยก่อนไปหาหมอ ที่ผู้เชี่ยวชาญคัดเลือกให้มีไว้ใช้ในครัวเรือน ประกอบด้วย ยาหอม แก้ลมวิงเวียน บำรุงหัวใจ ขมิ้นชันแคปซูล จุกเสียด ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้แผลในกระเพาะอาหาร ฟ้าทะลายโจรแคปซูล บรรเทาอาการของโรคหวัด ยาเหลืองปิดสมุทร แก้ท้องเสีย ยาจันทลีลา แก้ไข้ตัวร้อน ไข้เปลี่ยนฤดู ยาธรณีสันฑฆาต แก้ท้องผูก แก้กษัยเส้น น้ำมันเหลือง แก้ปวดเมื่อย คาลาไมน์พญายอ แก้ผื่นแพ้ แมลงกัดต่อย โลชั่นกันยุงตะไคร้หอม ทากันยุง ยาเปลือกมังคุด ฆ่าเชื้อแผลสดแผลเปื่อย

ที่มา : 
หนังสือพิมพ์บ้านเมือง

5 ก.พ. 2561

อบสมุนไพร

วันนี้แอดมินขอคุยถึงเรื่องการอบสมุนไพรหลังคลอดหน่อยนะครับ
การอบสมุนไพรหลังคลอดจำเป็นด้วยหรอ?
การอบสมุนไพรหลังคลอดนิยมทำกันมาช้านานตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน ใช้แทนการอยู่ไฟที่ต้องนอนบนไม้กระดานแล้วมีไฟสุมอยู่ข้างๆ

การอยู่ไฟหลังคลอด มีมาตั้งแต่โบราณโดยมีความเชื่อว่า การอยู่ไฟของคุณแม่หลังคลอดจะทำให้ร่างกายคุณแม่ฟื้นตัวได้เร็ว ร่างกายแข็งแรง การอยู่ไฟสมัยก่อนคือให้คุณแม่หลังคลอดนอนอยู่บนแคร่เล็ก ๆ และตั้งเตาไฟร้อน ๆไว้ใกล้ ๆ โดยใช้เวลาในการอยู่ไฟนานเป็นเดือน ๆ
แต่สำหรับคุณแม่สมัยใหม่การอยู่ไฟหลังคลอดมีหลายวิธี อาจจะอยู่ไฟแค่ 7 วันก็ได้ แล้วแต่ความสะดวกของตัวคุณแม่เอง จะอยู่ไฟที่บ้าน หรือสถานที่อื่นๆก็ได้ เช่น โรงพยาบาล คลินิกแผนโบราณ และในปัจจุบันมี บริการอยู่ไฟให้บริการตามบ้าน อีกด้วย สะดวกสบายกว่าสมัยก่อนเยอะเลยใช่ไหมล่ะครับ

    การอบสมุนไพรเป็นอีกหนึ่งวิธีการอยู่ไฟ
การอบสมุนไพรไทยหลังการคลอด เป็นวิธีการที่จะทำให้ร่างกายได้ขับของเสียออกทางผิวหนัง ช่วยขับน้ำคาวปลา ช่วยให้ผิวพรรณสดชื่น แจ่มใส สะอาด สำหรับผู้ที่คลอดปกติ จะทำการอบได้เมื่อครบกำหนด 7 วัน และสำหรับผู้ที่คลอดโดยการผ่าคลอด จะอบได้เมื่อครอบหลังคลอด 30 วัน
    ตัวยาในการอบรมสมุนไพร มีดังนี้ คือ ไพล ขมิ้นอ้อย ขมิ้นชัน ตะไคร้ ใบมะกรูด และผิวมะกรูด ใบหญ้าคา ใบพลับพลึง ว่านน้ำ ว่านชักมดลูก ว่านมหาเมฆ ว่านนางคำ ใบเปล้าหลวง ขิง ใบช้าพลู ใบส้มป่อย
วิธีอบ ควรอบวันละประมาณ 20 นาที และอบสมุนไพรทุก ๆ วันจนครบ 7 วัน
    หลังจากอบสมุนไพรแล้วยังมีการ ประคบด้วยลูกประคบสมุนไพรอีกขั้นตอนหนึ่ง
เป็นวิธีการที่ช่วยทำให้แผลฝีเย็บแห้งดีและลดการอักเสบ และลดการคัดของเต้านม ทั้งยังช่วยลดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ หลังคลอดบุตร 7 วัน สามารถประคบด้วยลูกประคบ ซึ่งมีตัวยาหลักดังนี้ ไพล ตะไคร้ ขมิ้นอ้อย ขมิ้นชัน ผิวมะกรูด เถาขมิ้นอ่อน ใบส้มป่อย ใบมะขาม การบูร
        วิธีประคบ ใช้ลูกประคบ 3 ลูก ใช้นั่งทับ 1 ลูก อีก 2 ลูก ใช้ประคบตามร่างกายและเต้านมประคบทุกวันจนนมหายคัด หลังจากประคบอาจใช้น้ำที่เหลือจากการอบสมุนไพร ทิ้งไว้ให้พออุ่นแล้วอาบให้หมดแล้วจึงอาบน้ำอุ่น ๆ ล้างอีกครั้งหนึ่ง
    นอกจากนี้ยังมีวิธีการอยู่ไฟอีกหลายๆแบบแต่ไม่ค่อยเป้นที่นิยมกันนักเนื่องจากความไม่สะดวกนั่นเอง
   การนั่งถ่าน
         เป็นการใช้ความร้อนและควันจากการเผาไหม้ของตัวยาสมุนไพร เพื่ออบบริเวณช่องคลอด ซึ่งช่วยสมานแผลจากการคลอดบุตร ส่วนประกอบในตัวยามีดังนี้ ผิวมะกรูดแห้ง เหง้าว่านน้ำ ว่านนางคำ ไพล ขมิ้นอ้อย ชานหมาก เปลือกต้นชลูด ขมิ้นผงและใบหมาก
  วิธีการนั่งถ่าน 
    1. หั่นตัวยาสมุนไพรให้ละเอียด แล้วนำมาตากแดดให้แห้ง
    2. ก่อเตาไฟเล็ก ๆ และกลบขี้เถ้าให้ร้อนพอทนได้ นั่งเก้าอี้ไม้เจาะรูตรงกลางวางครอบเตาไฟ
    3. เอาตัวยาสมุนไพรโรยบนเตาถ่าน จะเกิดควันจากการเผาไหม้ ตัวยาจะพลุ่งขึ้นมาเอง
    4. มารดาหลังคลอดนั่งบนเก้าอี้ให้ควันและความร้อนเข้าสู่ช่องคลอด ให้มารดาหลังคลอดนั่งถ่านวันละ 1 ครั้ง ๆ ละ ½ ชม. โดยทำภายหลังจากการนาบหม้อเกลือ
   วิธีนั่งอิฐ
          นำอิฐแดงย่างหรือเผาให้ร้อน แล้วเอาออกมาวางบนวัตถุที่ทนร้อน เอาใบปลีหลวงหรือใบพลับพลึงวางซ้อน ๆ กันหลาย ๆ ชั้น ให้นั่งทับ ค่อย ๆ นั่งลงไปเพราะนั่งทีเดียวจะร้อนมาก มารดาหลังคลอดจะรู้สึกสบาย ร่างกายแข็งแรงเร็ว ห้ามสระผมภายใน 7 วัน หลัง 7 วันจึงสระน้ำอุ่นได้ (วิธีนี้เป็นวิธีพื้นบ้านภาคเหนือ)
          หรือใช้อิฐย่างไฟให้ร้อน นำมาห่อด้วยผ้าขาวม้าตามยาว ม้วนผ้าขาวม้าให้รอบอิฐ นำมาผูกไว้บริเวณตำแหน่งของมดลูกที่หน้าท้อง เพื่อให้ความร้อนผ่านเข้าสู่หน้าท้อง ทำให้มดลูกแข็งแรงขึ้น
  การอยู่ไฟชุด
           วิธีนี้จะมีไฟชุดสำเร็จรูปเป็นกล่อง ที่สามารถนำความร้อนประมาณ 4 กล่อง ภายในกล่องจะใส่ก้านแท่ง แล้วใส่ลงในผ้าซึ่งตัดเย็บไว้พอดีที่กล่องทั้ง 4 จะวางได้ โดยผ้านั้นจะมีเชือกสำหรับนำมาคาดที่เอว หรือบริเวณที่มีอาการปวด หรือบริเวณหน้าท้อง วิธีนี้ลดอาการปวดมดลูกได้
  การอยู่ไฟญวณ
           วิธีนี้เราจะใช้ไม้กระดานให้มารดาหลังคลอดนอนแบบไม้กระดาน เช่น เกี่ยวกับการอยู่ไฟกระดาน แต่ต่างกันตรงที่เอาเตาไฟไว้ใต้ไม้กระดานนั้น ในช่วงบริเวณหลังของมารดาหลังคลอด
  การอยู่ไฟกระดาน
           วิธีนี้คล้าย ๆ กับการอยู่ไฟญวณ แต่ต่างกันตรงที่วิธีนี้เตาไฟจะวางไว้ข้าง ๆ ไม้กระดาน โดยความร้อนจากเตาไฟจะไม่ผ่านหลังโดยตรง
  การทับหม้อเกลือ
อุปกรณ์ที่ใช้
    1. ผ้าปูสี่เหลี่ยม 1 ผืน
    2. หม้อทะนน (เตรียมไว้ 4 ใบ)
    3. เตาถ่านขนาดให้พอดีกับหม้อ
    4. เกล็ดเกลือ (เติมในหม้อทะนน) ตั้งไฟสุก ๆ ประมาณ 15 นาที
    5. ตัวสมุนไพร เช่น ไพลสด 1 ส่วน ว่านนางดำ ½ ส่วน ว่านชักมดลูก ½ ส่วน การบูร พอประมาณ ใบพลับพลึง และใบละหุ่ง

วิธีทำ

    1. ล้างไพลให้สะอาด ไม่ต้องปอกเปลือก ว่านนางคำและว่านชักมดลูกผสมการบูรลงไป
    2. นำใบพลับพลึงมากางใบออก เอาด้านหน้าวางบนไหล่ 2 ใบ ตั้งฉากกัน วางหม้อเกลือทับใบพลับพลึง ห่อผ้ามัดให้แน่น
    3. ทุกครั้งที่เปลี่ยนหม้อใหม่ ควรเติมตัวยาให้พอดีกับยาที่แห้งไป ถ้ายาแห้งมากให้พรมน้ำ
วิธีทับหม้อเกลือ
ท่าที่ 1 นอนหงาย ให้โกยท้องก่อน แล้วจึงนำเอามุมหม้อเกลือวางหมุนไปรอบ ๆ หมุนวน 1 รอบ วางพักหม้อเกลือเหนือหัวเหน่า แล้วหมุนทำใหม่ 5-6 รอบ
ข้อควรระวัง หม้อต้องไม่ร้อนเกินไป เพราะผ้าอาจไหม้ได้ บริเวณใต้อกห้ามวางแรง ๆ เพราะจะทำให้จุกแน่นได้ ต้องโกยลำไส้ก่อนทำทุกครั้ง เพื่อไม่ให้ไส้พอง
ท่าที่ 2 การเข้าตะเกียบ เอาหม้อเกลือวางด้านข้างบริเวณช่องกล้ามเนื้อขาด้านนอก กดไล่ขึ้น-บน ต้นขา บนร่องกล้ามเนื้อหน้าแข็งด้านใน เสร็จแล้วจับตาดูผู้ป่วยให้อยู่ในลักษณะที่สามารถใช้หม้อเกลือกดทับขาด้านในได้ ในลักษณะกด-ยก กด-ยก ซึ่งสามารถช่วยแก้เหน็บชาได้ เสร็จแล้วเปลี่ยนหม้อเกลือใหม่
ท่าที่ 3 นอนตะแคง หลังคลอดจะมีอาการปวดหลังมาก ให้ใช้กรองเกลือกดทับบริเวณช่วงกระเบนเหน็บ ใช้มือซ้ายพยุงสะโพกด้านบน มืออีกข้างหนึ่งจับหม้อ เอวด้านข้างกดทับหนุนไปมาหลายครั้ง ๆ จากนั้นกดไล่ขึ้นตามร่องกระดูกสันหลัง
ท่าที่ 4 ท่านอนคว่ำ เอาหม้อเกลือทับท้องขาใต้ก้น
ข้อควรระวังในการทับหม้อเกลือ
    1. ผู้ป่วยมีไข้
    2. หลังกินอาหาร
    3. มดลูกต้องเข้าอู่ก่อน
    4. ผ่าตัดคลอด ห้ามทับ ต้องรอถึง 45 วัน
ประโยชน์ของการทับ
    1. ช่วยให้มดลูกเข้าอู่ได้สนิทมากขึ้น
    2. ลดไขมันหน้าท้อง แก้อาการปวดเมื่อย
    3. ทำให้น้ำคาวปลาไหลดีขึ้นให้ทำตอนเช้า ครั้งละ 2 ชั่วโมง ติดต่อกัน 3-5 วัน                   
      ที่มา http://www.horasaadrevision.com

4 ก.พ. 2561

หญ้าหวาน... หวานทางเลือก...เพื่อสุขภาพ


หญ้าหวานเป็นพืชที่ให้ความหวานโดยธรรมชาติ ประเทศไทยอนุญาตให้ใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับชาสมุนไพร ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2553 (ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง กำหนดรายชื่อพืชหรือส่วนของพืชที่ใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับชาสมุนไพร ประกาศ ณ วันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553)
หญ้าหวานมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Stevia Rebaudiana Bertoni หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า Stevia อยู่ในวงศ์ Asteraceae (Compositae) หญ้าหวานเป็นไม้ล้มลุกขนาดเล็กสูงประมาณ 30 - 90 เซนติเมตร ใบเดี่ยว รูปใบหอกกลับ ขอบใบหยัก มีดอกช่อสีขาว ลักษณะคล้ายต้นโหระพา ใบหญ้าหวานแห้ง สกัดด้วยน้ำได้สารหวานประมาณร้อยละหนึ่ง ซึ่งสารหวานเหล่านี้มีความหวานมากกว่าน้ำตาลทราย 150 - 300 เท่า มีความคงตัวสูงทั้งในตัวทำละลาย กรดอ่อน เบสอ่อน และทนความร้อนได้ถึง 200 องศาเซลเซียส จึงไม่สลายตัวหรือเปลี่ยนสภาพจากความร้อนในการปรุงอาหาร ใช้ในปริมาณน้อย ไม่มีพิษและปลอดภัย
ในการบริโภคสารสกัดบริสุทธิ์จากใบหญ้าหวาน: สตีวิออลไกลโคไซด์ สารสกัดบริสุทธิ์จากใบหญ้าหวาน เป็นสารประกอบไกลโคไซด์ของสารกลุ่มไดเทอพีน ที่เรียกว่า สติวิออลไกลโคไซด์ มีลักษณะเป็นผงสีขาวถึงสีเหลืองอ่อน มีความคงตัวสูงในตัวทำละลาย กรดอ่อน เบสอ่อน และทนความร้อน มีการอนุญาตให้ใช้สารสกัดจากหญ้าหวานเป็นสารทดแทนน้ำตาลในประเทศต่างๆไม่น้อยกว่า 30 ประเทศ เช่น ญี่ปุ่น จีน เกาหลี แคนนาดา ออสเตเลีย นิวซีแลนด์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกาและกลุ่มประเทศในยุโรปอนุญาตให้มีการใช้สารหวานจากหญ้าหวานเป็นส่วนผสมในเครื่องดื่ม ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2551 และ พ.ศ. 2554 ตามลำดับ
ประเทศไทย โดยกระทรวงสาธารณสุข ประกาศอนุญาตให้มีการผลิต และจำหน่ายหญ้าหวานในประเทศไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 2545 (ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 262) พ.ศ. 2545 เรื่อง สตีวิโอไซด์และอาหารที่มีส่วนผสมของสตีวิโอไซด์) และประกาศให้สารสกัดสติวิออลไกลโคไซด์เป็นวัตถุเจือปนอาหาร ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 (ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 360) พ.ศ. 2556 เรื่อง สตีวิออลไกลโคไซด์) โดยอ้างอิงข้อมูลของคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญว่าด้วยวัตถุเจือปนอาหารขององค์การอาหารและเกษตร และองค์การอนามัยโลก แห่งสหประชาชาติ (The Joint FAO/WHO Expert Committee on Food Additives, JECFA) ซึ่งได้ประเมินและกำหนดค่าความปลอดภัย (Acceptable Daily Intake, ADI) แล้วตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขดังกล่าว สตีวิออลไกลโคไซด์ หมายความว่า สารสกัดบริสุทธิ์จากใบหญ้าหวาน ซึ่งประกอบด้วย สตีวิโอไซด์ รีบาวดิโอไซด์ เอ รีบาวดิโอไซด์ บี รีบาวดิโอไซด์ ซี รีบาวดิโอไซด์ ดี รีบาวดิโอไซด์ โคไซด์ เอ รูบุโซไซด์ และ สตีวิออลไบโอไซด์ สารสกัดจากหญ้าหวานที่อนุญาตให้ใช้เป็นส่วนประกอบอาหารต้องมีปริมาณสารในกลุ่มสตีวิออลไกลโคไซด์ รวมทั้งหมดไม่น้อยกว่าร้อยละ 95 ของน้ำหนักแห้ง ซึ่งอ้างอิงจากมาตรฐาน องค์การอาหารและเกษตร และองค์การอนามัยโลก แห่งสหประชาชาติ (Codex 2010: JECFA Monograph (2010) INS no. 960)
ปัจจุบันในประเทศไทยมีการผลิตสารสตีวิออลไกลโคไซด์ในระดับอุตสาหกรรม เพื่อทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งกระบวนการผลิตได้จากการวิจัยอย่างครบวงจร ตั้งแต่การคัดเลือกและปรับปรุงพันธ์ และมีโครงการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกไร่หญ้าหวานให้มากขึ้น
สืบค้นจาก http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/221/
สืบค้นเมื่อวันที่ 4/2/ 2561


หญ้าหวานก่อมะเร็ง เป็นหมันจริงหรือ??
แม้ไม่นานมานี้จะมีการรายงานว่า มีชาวปารากวัยที่กินหญ้าหวานแล้วกลายเป็นหมัน หรือจำนวนอสุจิลดน้อยลงก็ตาม แต่จากข้อมูลของ สถาบันการแพทย์แผนไทย คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เผยผลวิจัยจากต่างประเทศ ซึ่งพบว่าการใช้หญ้าหวานไม่ได้ทำให้เกิดผลกระทบ หรือผลข้างเคียงแต่อย่างใด เพราะหลังจากทดลองกับหนูทดลองถึง 3 ชั่วอายุ ไม่ก่อให้เกิดการกลายพันธุ์หรือกลายเป็นหมัน
“หญ้าหวานสามารถกินได้ทุกเพศทุกวัย ทั้งนี้ในแต่ละวันไม่ควรกินเกิน 4 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม แต่อย่าลืมว่าหญ้าหวานมีรสขมเล็กน้อย ดังนั้น จึงควรระวังเวลานำไปใช้ เพราะอาจทำให้รสชาติอาหารเปลี่ยนแปลงได้”
“ส่วนผู้ที่ยังไม่เคยกินหญ้าหวาน อาจจะค่อยๆ เริ่มกินเพื่อปรับตัวให้ชินกับรสชาติหวานที่มีรสขมติดปลายลิ้นด้วยเล็กน้อยค่ะ” อาจารย์ ดร.ณัฐิรากล่าว ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลของเหล่านักวิจัยที่ได้ร่วมกันทบทวนผลงานวิจัยถึงคุณประโยชน์และโทษเกี่ยวกับหญ้าหวาน โดยสถานบันการแพทย์แผนไทยว่า
“หญ้าหวานไม่ถูกย่อยให้เกิดพลังงาน นักวิชาการจึงสนใจประเด็นสารสกัดสตีวิโอไซด์ว่า มีพิษหรือไม่ และควรกินเท่าใดจึงจะปลอดภัย ซึ่งได้คำตอบว่า สตีวิโอไซด์ปลอดภัยในทุกกรณี และค่าสูงสุดที่กินได้คือถึง 7,938 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณที่สูงมาก เพราะในความเป็นจริงมีผู้บริโภคได้แค่ 2 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมเท่านั้น ก็หวานมากเกินไปแล้ว”
ที่มาhttp://www.slowlife.company

3 ก.พ. 2561

ลูกประคบสมุนไพรภูมิปัญญาไทยจากอดีตถึงปัจจุบัน

มรดกทางภูมิปัญญาของแพทย์แผนไทย

ลูกประคบสมุนไพร คือ ผ้าที่ใช้สมุนไพรหลายอย่างมาห่อรวมกัน นำมานึ่งให้ร้อน เป็นวิธีการบำบัดรักษาของการแพทย์แผนโบราณ แล้วประคบบริเวณที่เจ็บปวด เคล็ดขัดยอก โดยอาศัยความร้อนและคุณสมบัติสมุนไพร ทำให้อาการดีขึ้น คนไทยนิยมใช้ ลูกประคบสมุนไพร รักษากันมาแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน โดยมักใช้รักษาควบคู่กับการนวดไทย คือ หลังจากนวดเสร็จแล้วจึงประคบนาบไปตามร่างกาย ผลของความร้อนที่ได้จากการประคบ ทำให้หลอดเลือดฝอยขยายตัว และตัวยาสมุนไพรร้อน ๆ ซึมผ่านชั้นผิวหนังเข้าสู่ร่างกาย และยังช่วยทำให้เนื้อเยื่อพังผืดยืดตัวออก ลดการติดขัดของข้อต่อ ลดการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ ลดปวด ช่วยลดการบวมที่เกิดจาการอักเสบของกล้ามเนื้อ เอ็น และข้อต่อ และช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต

สมุนไพร" ที่ใช้ในตำรับยา "ลูกประคบสมุนไพร"  มีแตกต่างกันไปในวัตถุประสงค์ของการรักษา เช่น ตำรับแก้ปวดเมื่อย ตำรับแก้เหน็บชา ตำรับแก้อัมพฤกษ์ อัมพาต ตำหรับแก้ตะคริว เป็นต้น ตำรับแก้ปวดเมื่อยของแต่ละแห่ง อาจไม่ใช่สูตรเดียวกัน แต่มีตัวยาหลักเหมือนกัน

ส่วนมากแล้วมักใช้ "ลูกประคบสมุนไพร" ประคบกันในผู้ที่มีอาการเคล็ด ขัดยอก ซ้ำบวม แต่ถ้าต้องการประคบเพื่อคลายเครียด คลายเมื่อยล้า ก็สามารถทำได้ การประคบด้วยลูกประคบสมุนไพรเพื่อคลายเครียดนี้ จะช่วยให้คุณหายจากอาการอ่อนล้า อาการปวดเมื่อย กล้ามเนื้อเส้นเอ็น เกิดความกระปรี้กระเปร่า สบายเนื้อสบายตัวขึ้นมาโดยพลัน
"ลูกประคบสมุนไพร"  นี้ปรากฏว่ามีมาแล้วช้านาน นอกจากจะมีการนำเอาสมุนไพรต่าง ๆ  มาใช้ประโยชน์เป็นยากินรักษาอาการของโรคต่าง ๆ หรือนำสมุนไพรบางชนิดมาปรุงเป็นยาบำรุงกำลัง บำรุงร่างกาย ขจัดโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ แล้วยังสามารถนำมาใช้เป็นยารักษาอาการภายนอกร่างกายได้อีกด้วย มีทั้งที่นำมาใช้เดี่ยว ๆ หรือนำมาปรุงผสมผสานเข้าด้วยกันหลาย ๆ อย่าง เป็นยาทาก็ได้ เป็นยาพอกก็ดี เป็นยาพ่น เป่าเป็นยาสูบ ยาอม ยารมควัน หรือยาประคบก็ได้ สารพัดสารพัน  นี่คือมรดกทางภูมิปัญญาของหมอพื้นบ้านหรือแพทย์แผนโบราณของไทยเราโดยแท้

     ปัจจุบันลูกประคบสมุนไพรได้นำมาประยุคให้เก็บรักษาได้นานและสะดวกในการใช้มากขึ้น จึงได้มีการนำสมุนไพรมาอบแห้งแล้วนำมาห่อบรรจุ เป็นที่สะดวกใช้ ไม่มีคราบสมุนไพรออกมาเลอะเทอะแต่ยังคงสรรคุณของสมุนไพรไว้เหมือนเดิม

► "ประโยชน์ของการประคบ ลูกประคบสมุนไพร" ในการรักษาอาการต่าง ๆ ดังนี้

-ประคบเพื่อขจัดอาการของโรค
-ประคบเพื่อคลายเส้น เอ็น กล้ามเนื้อ ให้หายจากอาการเมื่อยล้า อ่อนเพลีย
-ประคบเพื่อให้โลหิตไหลเวียนทั่วสรรพางค์กายได้สะดวกดีขึ้น
-ประคบเพื่อบรรเทาและรักษาอาการเหน็บชา อัมพฤกษ์และอัมพาต
-ประคบเพื่อลดไขมัน หรือละลายไขมันที่สะสมอยู่ในร่างกาย
-ประคบเพื่อลดความดันโลหิตสูงให้ลดลงมาเป็นปกติ
-ประคบเพื่อให้มดลูกเข้าอู่ได้เร็ววันยิ่งขึ้น
-ประคบเพื่อขับน้ำคาวปลาออกมาจากมดลูกให้หมดสิ้น ไม่เหลือคั่งค้างเอาไว้
-ประคบเพื่อให้ร่างกายพริกฟื้นจากความอ่อนแอ ขี้โรค ให้มีเรี่ยวแรงดีขึ้น
-ประคบเพื่อคลายเครียด สบายเนื้อสบายตัว อารมณ์แช่มชื่น ผ่องใส จิตใจ ปลอดโปร่ง
-ประคบเพื่อสร้างสมดุลให้แก่สุขภาพของตนเองแม้ว่าจะไม่เจ็บป่วย หรือมีโรคภัยใด ๆ ก็ตาม

ขั้นตอนวิธีการประคบและข้อควรระวังในการประคบ
ลูกประคบสมุนไพร
► ขั้นตอนวิธีการประคบ ลูกประคบสมุนไพร
1.จัดท่าผู้ป่วยให้เหมาะสม ในท่านั่งหรือนอน
2.นำลูกประคบสมุนไพรที่นึ่งจนร้อนมาทดสอบความร้อน โดยแตะที่ท้องแขน หรือหลังมือก่อนนำไปประคบ3.ในการประคบสมุนไพรต้องทำด้วยความรวดเร็ว ในขณะที่ลูกประคบสมุนไพรกำลังร้อน เมื่อลูกประคบสมุนไพรเย็นลงจึงวางลูกประคบสมุนไพรไว้ได้นานขึ้น
4.เมื่อลูกประคบสมุนไพรคลายความร้อน จึงเปลี่ยนลูกประคบอีกลูกหนึ่งแทน
► ลักษณะประคบ ลูกประคบสมุนไพร 
สังเกตุดูลูกประคบสมุนไพร ว่ามีความร้อนมากหรือเปล่า ถ้าลูกประคบสมุนไพรมีความร้อนต้องห่มผ้าขนหนูก่อนแล้วประคบ ตอนแรกห้ามประคบที่ใดที่หนึ่งนาน ๆ เพราะจะทำให้ผิวหนังผู้ป่วยพุพอง หรือผู้ป่วยตกใจอาจช้อกได้ เมื่อร้อนต้องประคบเร็ว ๆ คอยซักถามดูเรื่อย ๆ แล้วค่อยช้าลง ถ้าไม่ร้อนเอาผ้าขนหนูออก
► ข้อควรระวังในการประคบ ลูกประคบสมุนไพร
  1. ห้ามใช้ลูกประคบสมุนไพร ที่ร้อนเกินไป โดยเฉพาะกับบริเวณผิวหนังอ่อน ๆ หรือบริเวณที่เป็นแผลมาก่อน  ถ้าจำเป็นต้องประคบควรมีผ้ารองหรือรอจนกว่าลูกประคบสมุนไพรจะคลายความร้อนลง
  2. ควรระวังเป็นพิเศษในผู้ป่วยโรคเบาหวาน อัมพาต เด็ก และผู้สูงอายุ เนื่องจากกลุ่มบุคคลดังกล่าวมีการตอบสนองความรู้สึกช้า อาจทำให้ผิวหนังพองได้ ถ้าจำเป็นต้องประคบให้ใช้ลูกประคบสมุนไพรอุ่น ๆ
  3. ไม่ควรใช้ลูกประคบสมุนไพร กรณีที่มีการอักเสบใน 24 ชั่วโมงแรก เพราะอาจทำให้การอักเสบมากขึ้น ควรประคบด้วยความเย็นก่อน
  4. หลังจากประคบสมุนไพรแล้ว ไม่ควรอาบน้ำทันที เพราะจะไปชะล้างตัวยาออกจากผิวหนัง และร่างกายอาจปรับตัวไม่ทัน

♦เรียบเรียงบทความ ความลับ ประโยชน์ ข้อควรระวัง ของลูกประคบสมุนไพร
มรดกทางภูมิปัญญาของแพทย์แผนไทย

โดยกองบรรณาธิการ
www.YesSpaThailand.com