กดไลท์กดแชร์

4 ก.พ. 2561

หญ้าหวาน... หวานทางเลือก...เพื่อสุขภาพ


หญ้าหวานเป็นพืชที่ให้ความหวานโดยธรรมชาติ ประเทศไทยอนุญาตให้ใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับชาสมุนไพร ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2553 (ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง กำหนดรายชื่อพืชหรือส่วนของพืชที่ใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับชาสมุนไพร ประกาศ ณ วันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553)
หญ้าหวานมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Stevia Rebaudiana Bertoni หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า Stevia อยู่ในวงศ์ Asteraceae (Compositae) หญ้าหวานเป็นไม้ล้มลุกขนาดเล็กสูงประมาณ 30 - 90 เซนติเมตร ใบเดี่ยว รูปใบหอกกลับ ขอบใบหยัก มีดอกช่อสีขาว ลักษณะคล้ายต้นโหระพา ใบหญ้าหวานแห้ง สกัดด้วยน้ำได้สารหวานประมาณร้อยละหนึ่ง ซึ่งสารหวานเหล่านี้มีความหวานมากกว่าน้ำตาลทราย 150 - 300 เท่า มีความคงตัวสูงทั้งในตัวทำละลาย กรดอ่อน เบสอ่อน และทนความร้อนได้ถึง 200 องศาเซลเซียส จึงไม่สลายตัวหรือเปลี่ยนสภาพจากความร้อนในการปรุงอาหาร ใช้ในปริมาณน้อย ไม่มีพิษและปลอดภัย
ในการบริโภคสารสกัดบริสุทธิ์จากใบหญ้าหวาน: สตีวิออลไกลโคไซด์ สารสกัดบริสุทธิ์จากใบหญ้าหวาน เป็นสารประกอบไกลโคไซด์ของสารกลุ่มไดเทอพีน ที่เรียกว่า สติวิออลไกลโคไซด์ มีลักษณะเป็นผงสีขาวถึงสีเหลืองอ่อน มีความคงตัวสูงในตัวทำละลาย กรดอ่อน เบสอ่อน และทนความร้อน มีการอนุญาตให้ใช้สารสกัดจากหญ้าหวานเป็นสารทดแทนน้ำตาลในประเทศต่างๆไม่น้อยกว่า 30 ประเทศ เช่น ญี่ปุ่น จีน เกาหลี แคนนาดา ออสเตเลีย นิวซีแลนด์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกาและกลุ่มประเทศในยุโรปอนุญาตให้มีการใช้สารหวานจากหญ้าหวานเป็นส่วนผสมในเครื่องดื่ม ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2551 และ พ.ศ. 2554 ตามลำดับ
ประเทศไทย โดยกระทรวงสาธารณสุข ประกาศอนุญาตให้มีการผลิต และจำหน่ายหญ้าหวานในประเทศไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 2545 (ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 262) พ.ศ. 2545 เรื่อง สตีวิโอไซด์และอาหารที่มีส่วนผสมของสตีวิโอไซด์) และประกาศให้สารสกัดสติวิออลไกลโคไซด์เป็นวัตถุเจือปนอาหาร ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 (ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 360) พ.ศ. 2556 เรื่อง สตีวิออลไกลโคไซด์) โดยอ้างอิงข้อมูลของคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญว่าด้วยวัตถุเจือปนอาหารขององค์การอาหารและเกษตร และองค์การอนามัยโลก แห่งสหประชาชาติ (The Joint FAO/WHO Expert Committee on Food Additives, JECFA) ซึ่งได้ประเมินและกำหนดค่าความปลอดภัย (Acceptable Daily Intake, ADI) แล้วตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขดังกล่าว สตีวิออลไกลโคไซด์ หมายความว่า สารสกัดบริสุทธิ์จากใบหญ้าหวาน ซึ่งประกอบด้วย สตีวิโอไซด์ รีบาวดิโอไซด์ เอ รีบาวดิโอไซด์ บี รีบาวดิโอไซด์ ซี รีบาวดิโอไซด์ ดี รีบาวดิโอไซด์ โคไซด์ เอ รูบุโซไซด์ และ สตีวิออลไบโอไซด์ สารสกัดจากหญ้าหวานที่อนุญาตให้ใช้เป็นส่วนประกอบอาหารต้องมีปริมาณสารในกลุ่มสตีวิออลไกลโคไซด์ รวมทั้งหมดไม่น้อยกว่าร้อยละ 95 ของน้ำหนักแห้ง ซึ่งอ้างอิงจากมาตรฐาน องค์การอาหารและเกษตร และองค์การอนามัยโลก แห่งสหประชาชาติ (Codex 2010: JECFA Monograph (2010) INS no. 960)
ปัจจุบันในประเทศไทยมีการผลิตสารสตีวิออลไกลโคไซด์ในระดับอุตสาหกรรม เพื่อทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งกระบวนการผลิตได้จากการวิจัยอย่างครบวงจร ตั้งแต่การคัดเลือกและปรับปรุงพันธ์ และมีโครงการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกไร่หญ้าหวานให้มากขึ้น
สืบค้นจาก http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/221/
สืบค้นเมื่อวันที่ 4/2/ 2561


หญ้าหวานก่อมะเร็ง เป็นหมันจริงหรือ??
แม้ไม่นานมานี้จะมีการรายงานว่า มีชาวปารากวัยที่กินหญ้าหวานแล้วกลายเป็นหมัน หรือจำนวนอสุจิลดน้อยลงก็ตาม แต่จากข้อมูลของ สถาบันการแพทย์แผนไทย คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เผยผลวิจัยจากต่างประเทศ ซึ่งพบว่าการใช้หญ้าหวานไม่ได้ทำให้เกิดผลกระทบ หรือผลข้างเคียงแต่อย่างใด เพราะหลังจากทดลองกับหนูทดลองถึง 3 ชั่วอายุ ไม่ก่อให้เกิดการกลายพันธุ์หรือกลายเป็นหมัน
“หญ้าหวานสามารถกินได้ทุกเพศทุกวัย ทั้งนี้ในแต่ละวันไม่ควรกินเกิน 4 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม แต่อย่าลืมว่าหญ้าหวานมีรสขมเล็กน้อย ดังนั้น จึงควรระวังเวลานำไปใช้ เพราะอาจทำให้รสชาติอาหารเปลี่ยนแปลงได้”
“ส่วนผู้ที่ยังไม่เคยกินหญ้าหวาน อาจจะค่อยๆ เริ่มกินเพื่อปรับตัวให้ชินกับรสชาติหวานที่มีรสขมติดปลายลิ้นด้วยเล็กน้อยค่ะ” อาจารย์ ดร.ณัฐิรากล่าว ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลของเหล่านักวิจัยที่ได้ร่วมกันทบทวนผลงานวิจัยถึงคุณประโยชน์และโทษเกี่ยวกับหญ้าหวาน โดยสถานบันการแพทย์แผนไทยว่า
“หญ้าหวานไม่ถูกย่อยให้เกิดพลังงาน นักวิชาการจึงสนใจประเด็นสารสกัดสตีวิโอไซด์ว่า มีพิษหรือไม่ และควรกินเท่าใดจึงจะปลอดภัย ซึ่งได้คำตอบว่า สตีวิโอไซด์ปลอดภัยในทุกกรณี และค่าสูงสุดที่กินได้คือถึง 7,938 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณที่สูงมาก เพราะในความเป็นจริงมีผู้บริโภคได้แค่ 2 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมเท่านั้น ก็หวานมากเกินไปแล้ว”
ที่มาhttp://www.slowlife.company

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น