การอบสมุนไพรหลังคลอดจำเป็นด้วยหรอ?
การอบสมุนไพรหลังคลอดนิยมทำกันมาช้านานตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน ใช้แทนการอยู่ไฟที่ต้องนอนบนไม้กระดานแล้วมีไฟสุมอยู่ข้างๆ
การอยู่ไฟหลังคลอด มีมาตั้งแต่โบราณโดยมีความเชื่อว่า การอยู่ไฟของคุณแม่หลังคลอดจะทำให้ร่างกายคุณแม่ฟื้นตัวได้เร็ว ร่างกายแข็งแรง การอยู่ไฟสมัยก่อนคือให้คุณแม่หลังคลอดนอนอยู่บนแคร่เล็ก ๆ และตั้งเตาไฟร้อน ๆไว้ใกล้ ๆ โดยใช้เวลาในการอยู่ไฟนานเป็นเดือน ๆ
แต่สำหรับคุณแม่สมัยใหม่การอยู่ไฟหลังคลอดมีหลายวิธี อาจจะอยู่ไฟแค่ 7 วันก็ได้ แล้วแต่ความสะดวกของตัวคุณแม่เอง จะอยู่ไฟที่บ้าน หรือสถานที่อื่นๆก็ได้ เช่น โรงพยาบาล คลินิกแผนโบราณ และในปัจจุบันมี บริการอยู่ไฟให้บริการตามบ้าน อีกด้วย สะดวกสบายกว่าสมัยก่อนเยอะเลยใช่ไหมล่ะครับ
การอบสมุนไพรเป็นอีกหนึ่งวิธีการอยู่ไฟ
การอบสมุนไพรไทยหลังการคลอด เป็นวิธีการที่จะทำให้ร่างกายได้ขับของเสียออกทางผิวหนัง ช่วยขับน้ำคาวปลา ช่วยให้ผิวพรรณสดชื่น แจ่มใส สะอาด สำหรับผู้ที่คลอดปกติ จะทำการอบได้เมื่อครบกำหนด 7 วัน และสำหรับผู้ที่คลอดโดยการผ่าคลอด จะอบได้เมื่อครอบหลังคลอด 30 วัน
ตัวยาในการอบรมสมุนไพร มีดังนี้ คือ ไพล ขมิ้นอ้อย ขมิ้นชัน ตะไคร้ ใบมะกรูด และผิวมะกรูด ใบหญ้าคา ใบพลับพลึง ว่านน้ำ ว่านชักมดลูก ว่านมหาเมฆ ว่านนางคำ ใบเปล้าหลวง ขิง ใบช้าพลู ใบส้มป่อย
วิธีอบ ควรอบวันละประมาณ 20 นาที และอบสมุนไพรทุก ๆ วันจนครบ 7 วัน
หลังจากอบสมุนไพรแล้วยังมีการ ประคบด้วยลูกประคบสมุนไพรอีกขั้นตอนหนึ่ง
เป็นวิธีการที่ช่วยทำให้แผลฝีเย็บแห้งดีและลดการอักเสบ และลดการคัดของเต้านม ทั้งยังช่วยลดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ หลังคลอดบุตร 7 วัน สามารถประคบด้วยลูกประคบ ซึ่งมีตัวยาหลักดังนี้ ไพล ตะไคร้ ขมิ้นอ้อย ขมิ้นชัน ผิวมะกรูด เถาขมิ้นอ่อน ใบส้มป่อย ใบมะขาม การบูร
วิธีประคบ ใช้ลูกประคบ 3 ลูก ใช้นั่งทับ 1 ลูก อีก 2 ลูก ใช้ประคบตามร่างกายและเต้านมประคบทุกวันจนนมหายคัด หลังจากประคบอาจใช้น้ำที่เหลือจากการอบสมุนไพร ทิ้งไว้ให้พออุ่นแล้วอาบให้หมดแล้วจึงอาบน้ำอุ่น ๆ ล้างอีกครั้งหนึ่ง
นอกจากนี้ยังมีวิธีการอยู่ไฟอีกหลายๆแบบแต่ไม่ค่อยเป้นที่นิยมกันนักเนื่องจากความไม่สะดวกนั่นเอง
การนั่งถ่าน
เป็นการใช้ความร้อนและควันจากการเผาไหม้ของตัวยาสมุนไพร เพื่ออบบริเวณช่องคลอด ซึ่งช่วยสมานแผลจากการคลอดบุตร ส่วนประกอบในตัวยามีดังนี้ ผิวมะกรูดแห้ง เหง้าว่านน้ำ ว่านนางคำ ไพล ขมิ้นอ้อย ชานหมาก เปลือกต้นชลูด ขมิ้นผงและใบหมาก
วิธีการนั่งถ่าน
- หั่นตัวยาสมุนไพรให้ละเอียด แล้วนำมาตากแดดให้แห้ง
- ก่อเตาไฟเล็ก ๆ และกลบขี้เถ้าให้ร้อนพอทนได้ นั่งเก้าอี้ไม้เจาะรูตรงกลางวางครอบเตาไฟ
- เอาตัวยาสมุนไพรโรยบนเตาถ่าน จะเกิดควันจากการเผาไหม้ ตัวยาจะพลุ่งขึ้นมาเอง
- มารดาหลังคลอดนั่งบนเก้าอี้ให้ควันและความร้อนเข้าสู่ช่องคลอด ให้มารดาหลังคลอดนั่งถ่านวันละ 1 ครั้ง ๆ ละ ½ ชม. โดยทำภายหลังจากการนาบหม้อเกลือ
วิธีนั่งอิฐ
นำอิฐแดงย่างหรือเผาให้ร้อน แล้วเอาออกมาวางบนวัตถุที่ทนร้อน เอาใบปลีหลวงหรือใบพลับพลึงวางซ้อน ๆ กันหลาย ๆ ชั้น ให้นั่งทับ ค่อย ๆ นั่งลงไปเพราะนั่งทีเดียวจะร้อนมาก มารดาหลังคลอดจะรู้สึกสบาย ร่างกายแข็งแรงเร็ว ห้ามสระผมภายใน 7 วัน หลัง 7 วันจึงสระน้ำอุ่นได้ (วิธีนี้เป็นวิธีพื้นบ้านภาคเหนือ)
หรือใช้อิฐย่างไฟให้ร้อน นำมาห่อด้วยผ้าขาวม้าตามยาว ม้วนผ้าขาวม้าให้รอบอิฐ นำมาผูกไว้บริเวณตำแหน่งของมดลูกที่หน้าท้อง เพื่อให้ความร้อนผ่านเข้าสู่หน้าท้อง ทำให้มดลูกแข็งแรงขึ้น
การอยู่ไฟชุด
วิธีนี้จะมีไฟชุดสำเร็จรูปเป็นกล่อง ที่สามารถนำความร้อนประมาณ 4 กล่อง ภายในกล่องจะใส่ก้านแท่ง แล้วใส่ลงในผ้าซึ่งตัดเย็บไว้พอดีที่กล่องทั้ง 4 จะวางได้ โดยผ้านั้นจะมีเชือกสำหรับนำมาคาดที่เอว หรือบริเวณที่มีอาการปวด หรือบริเวณหน้าท้อง วิธีนี้ลดอาการปวดมดลูกได้
การอยู่ไฟญวณ
วิธีนี้เราจะใช้ไม้กระดานให้มารดาหลังคลอดนอนแบบไม้กระดาน เช่น เกี่ยวกับการอยู่ไฟกระดาน แต่ต่างกันตรงที่เอาเตาไฟไว้ใต้ไม้กระดานนั้น ในช่วงบริเวณหลังของมารดาหลังคลอด
การอยู่ไฟกระดาน
วิธีนี้คล้าย ๆ กับการอยู่ไฟญวณ แต่ต่างกันตรงที่วิธีนี้เตาไฟจะวางไว้ข้าง ๆ ไม้กระดาน โดยความร้อนจากเตาไฟจะไม่ผ่านหลังโดยตรง
การทับหม้อเกลือ
อุปกรณ์ที่ใช้
- ผ้าปูสี่เหลี่ยม 1 ผืน
- หม้อทะนน (เตรียมไว้ 4 ใบ)
- เตาถ่านขนาดให้พอดีกับหม้อ
- เกล็ดเกลือ (เติมในหม้อทะนน) ตั้งไฟสุก ๆ ประมาณ 15 นาที
- ตัวสมุนไพร เช่น ไพลสด 1 ส่วน ว่านนางดำ ½ ส่วน ว่านชักมดลูก ½ ส่วน การบูร พอประมาณ ใบพลับพลึง และใบละหุ่ง
วิธีทำ
- ล้างไพลให้สะอาด ไม่ต้องปอกเปลือก ว่านนางคำและว่านชักมดลูกผสมการบูรลงไป
- นำใบพลับพลึงมากางใบออก เอาด้านหน้าวางบนไหล่ 2 ใบ ตั้งฉากกัน วางหม้อเกลือทับใบพลับพลึง ห่อผ้ามัดให้แน่น
- ทุกครั้งที่เปลี่ยนหม้อใหม่ ควรเติมตัวยาให้พอดีกับยาที่แห้งไป ถ้ายาแห้งมากให้พรมน้ำ
วิธีทับหม้อเกลือ
ท่าที่ 1 นอนหงาย ให้โกยท้องก่อน แล้วจึงนำเอามุมหม้อเกลือวางหมุนไปรอบ ๆ หมุนวน 1 รอบ วางพักหม้อเกลือเหนือหัวเหน่า แล้วหมุนทำใหม่ 5-6 รอบข้อควรระวัง หม้อต้องไม่ร้อนเกินไป เพราะผ้าอาจไหม้ได้ บริเวณใต้อกห้ามวางแรง ๆ เพราะจะทำให้จุกแน่นได้ ต้องโกยลำไส้ก่อนทำทุกครั้ง เพื่อไม่ให้ไส้พองท่าที่ 2 การเข้าตะเกียบ เอาหม้อเกลือวางด้านข้างบริเวณช่องกล้ามเนื้อขาด้านนอก กดไล่ขึ้น-บน ต้นขา บนร่องกล้ามเนื้อหน้าแข็งด้านใน เสร็จแล้วจับตาดูผู้ป่วยให้อยู่ในลักษณะที่สามารถใช้หม้อเกลือกดทับขาด้านในได้ ในลักษณะกด-ยก กด-ยก ซึ่งสามารถช่วยแก้เหน็บชาได้ เสร็จแล้วเปลี่ยนหม้อเกลือใหม่ท่าที่ 3 นอนตะแคง หลังคลอดจะมีอาการปวดหลังมาก ให้ใช้กรองเกลือกดทับบริเวณช่วงกระเบนเหน็บ ใช้มือซ้ายพยุงสะโพกด้านบน มืออีกข้างหนึ่งจับหม้อ เอวด้านข้างกดทับหนุนไปมาหลายครั้ง ๆ จากนั้นกดไล่ขึ้นตามร่องกระดูกสันหลัง
ข้อควรระวังในการทับหม้อเกลือ
- ผู้ป่วยมีไข้
- หลังกินอาหาร
- มดลูกต้องเข้าอู่ก่อน
- ผ่าตัดคลอด ห้ามทับ ต้องรอถึง 45 วัน
ประโยชน์ของการทับ
- ช่วยให้มดลูกเข้าอู่ได้สนิทมากขึ้น
- ลดไขมันหน้าท้อง แก้อาการปวดเมื่อย
- ทำให้น้ำคาวปลาไหลดีขึ้นให้ทำตอนเช้า ครั้งละ 2 ชั่วโมง ติดต่อกัน 3-5 วัน
ที่มา http://www.horasaadrevision.com
play superslot ซุปเปอร์ สล็อต เล่นผ่านเว็บ ความน่าเชื่อถือ PG เป็นเว็บไซต์ที่มีความเชื่อถือสูงและมีระบบรักษาความปลอดภัยข้อมูลของผู้เล่นอย่างเข้มงวดพร้อมกับเครดิตฟรีนี้
ตอบลบ